21/6/59

เล่นเวทแล้วปวด ออกกำลังกายแล้วปวด ซ้ำแล้วจะหาย จริงหรือ









สำหรับคนออกกำลังทั่วไป

อาการนี้เรียกว่า DOMS (Delay Onset Muscle Soreness) เกิดขึ้นเมื่อเราทำกิจกรรมที่ไม่คุ้น หรือทำมากกว่านานกว่าปกติ เกิดจากการที่กล้ามเนื้อยืด (Lengthening) ทำให้เกิดการฉีกขาดเล็กๆของเส้นใยกล้ามเนื้อ (Microtrauma)

- เล่นซ้ำแล้วจะหายมั้ย -- ถ้าเรายิ่งไปเล่นซ้ำอาจจะมีการบาดเจ็บถึงขั้น Injuries ได้ อย่าลืมว่าเราออกกำลังกายเพื่อสร้างความแข็งแรง ไม่ใช่ทำร้ายร่างกาย ถ้าเจ็บไปถึงขั้น Injuries ต้องใช้เวลาพักฟื้นนานมาก กว่าจะหายดีและกลับมาเล่นอีกครั้งเหมือนเริ่มใหม่ ทุกอย่างที่ทำมาเท่ากับศูนย์

- แล้วทำไงดี - ให้ทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เพื่อใช้ในการซ่อมแซมกล้ามเนื้อ และพักผ่อนให้เพียงพอ สามารถออกกำลังกายเบาๆได้ แต่ไม่ควรฝึกกล้ามเนื้อเดียวกันซ้ำกัน

- ป้องกันยังไง - อย่าหักโหมออกกำลังกาย ค่อยๆเพิ่มความหนักตามพัฒนาการของกล้ามเนื้อ และหากเราคุ้นเคยแล้วก็ทำให้สม่ำเสมอ จะลดการเกิด DOMS ได้






สำหรับคนเล่นเวท

การฝึกในแต่ละคาบ เป็นการทำลายกล้ามเนื้อ ในลักษณะที่ให้กล้ามเนื้อออกแรงมากกว่าภาวะปกติจนทำให้กล้ามเนื้อนั้นฉีกขาดบางส่วนในเส้นใยไฟเบอร์ โดยที่อาการฉีกขาดเหล่านี้ไม่ใช่อาการบาดเจ็บในการฝึกซ้อม ซึ่งกระบวนการนี้ส่งผลให้เกิดอาการหนึ่งที่เรียกว่า “การปวดล้ากล้ามเนื้อในภายหลัง” ซึ่งอาการนี้เกิดขึ้นหลังจากการฝึกซ้อมประมาณ 12 ชั่วโมงแรก โดยกล้าเนื้อมัดใหญ่เช่น อก,ขา,หลัง จะเจ็บได้มากถึง 4-5 วัน และกล้ามเนื้อมัดเล็กอาจเจ็บได้ 1-2 วัน  เนื่องจากการเกิด DOMS ไม่ได้เกิดจากอาการบาดเจ็บ

ระดับการพัฒนาหลังฝึกซ้อม  จะพบว่า ความหนักและความเมื่อยล้านั้นมีผลต่อระดับการพักฟื้น  และ การพัฒนา ซึ่งก่อนที่จะเกิดช่วงพัฒนา ร่างการจำเป็นต้องผ่านช่วงพักฟื้นไปก่อนแล้วจึงสามารถฝึกครั้งต่อไปในขณะที่ร่างกายอยู่ในระดับพัฒนาหลักการฝึกซ้อมแรก ดังนั้นหากบริหารร่างกายครั้งที่สอง “เร็วเกินไป” ร่างกายจะตัดระบบการพักฟื้นทิ้งแล้วเข้าสู่วงจรตกต่ำใหม่ เป็นอย่างนี้วนไปเรื่อยๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่านอกจากกล้ามเนื้อจะไม่มีการพักฟื้นที่เพียงพอ ยังแทบจะมีโอกาสพัฒนาได้น้อยมาก ดังนั้นในผลทางด้านประสิทธิผลสูงสุดของการพัฒนา ผู้ฝึกจึงไม่ควร “ซ้ำ” กล้ามเนื้อนั้นๆในวัดถัดไปที่รู้สึกตึงหรือปวด


วิธีแก้

เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดนั้นเบาๆ ช้าๆ
ยืดเหยียดกล้ามเนื้อนั้นโดยการเคลื่อนไหวช้าๆ